top of page

หนังตาตก หย่อนคล้อย เกิดจากอะไรบ้าง?



ลองมาดูกันว่า 'หนังตาตก' เกิดจากอะไรบ้างกันค่ะ

นอกจากเรื่องของความสวยงามแล้ว ภาวะหนังตาตกยังส่งผลต่อการมองเห็นได้ด้วยนะคะ โดยจะเป็นภาวะที่ขอบของเปลือกตาบนอยู่ต่ำกว่าระดับปกติ หรือมีหนังตาส่วนเกินย้อยลงมาปิด ทำให้ดูเหมือนตาหรี่เล็กลงนั่นเอง ซึ่งอาจเกิดเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ ส่วนใหญ่หนังตาส่วนเกินที่ลงมาปิดมักจะเริ่มจากด้านหางตาก่อน มาดูสาหตุหลักๆกันค่ะ



พันธุกรรม เชื้อชาติ


หลายคนอาจจะมีภาวะหนังตาตกมาตั้งแต่กำเนิด มีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อตาผิดปกติ ซึ่งมีทั้งเกิดขึ้นเอง และถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ค่ะ


หรืออีกหนึ่งสาเหตุคือเชื้อชาติ โดยส่วนใหญ่คนเอเชียจะมีตาชั้นเดียวหรือตาสองชั้นที่ชั้นเล็กๆ เบ้าตาตื้น และมีการสะสมของไขมันใต้หนังตามาก ทำให้หนังตาห้อยลง เกิดหนังตาตกได้ง่ายและเร็วกว่าชาวยุโรปหรืออาหรับค่ะ



อายุที่มากขึ้น


เมื่ออายุมากขึ้นอาจทำให้ทั้งกล้ามเนื้อตา และผิวหนังของเปลือกตาบนมีความยืดหยุ่นลดลง เกิดการหย่อนคล้อยลงมา ส่วนใหญ่ อาการเหล่านี้พบได้ตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป แต่จะยังไม่ชัดเจนนัก (อาจดูชัดเจนในคนที่ชั้นตาเล็ก หรือชั้นตาหลับใน) เมื่ออายุประมาณ 50 ปีขึ้นไปจะเริ่มเห็นชัดเจน


หนังตาอาจบดบังการมองเห็น หรือบางรายอาจมีขนตาม้วนเข้าทิ่มตาดำ นอกจากนี้หากมีการหย่อนคล้อยบริเวณหางตา จะเกิดการเสียดสีกับเปลือกตาล่างทำให้มีผื่นแดงบริเวณหางตาได้ค่ะ


ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ


ความผิดปกติของกล้ามเนื้อตาอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น อุบัติเหตุบริเวณเปลือกตา เปลือกตาอักเสบ และกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง


นอกจากนี้ยังอาจจะเกิดจากพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำอย่าง การขยี้ตาบ่อยๆ หรือการติดสติ๊กเกอร์ตาสองชั้นบ่อยๆ ก็อาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อเปลือกตาได้นะคะ



การแก้ไข สามารถทำตาสองชั้นแบบกรีดยาวตัดหนังตา หรือแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงร่วมด้วย ทำให้ดวงตาดูสดใส ย้อนวัยได้นะคะ

bottom of page